BOOK

ข้อคิดพื้นฐาน เพื่อผ่านวิกฤติ โควิด 19

ความแต่กต่างของวิกฤติ… “ต้มยำกุ้ง 2540” vs “โควิด2563” ผู้ที่มีอายุหน่อย ทุกคนจะจำได้ว่าตอนปี 2540 ที่ประเทศไทยเราเกิด “วิกฤติต้มยำกุ้ง” เราตกใจ และ มีชีวิตที่ลำบากมากต้องใช้เวลาพักใหญ่เราถึง จะผ่านวิกฤตินั้นไปได้  จนทุกอย่างกลับมา  เหมือนเดิมเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 ปี แต่หลายชีวิตก็เปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ณ วันนี้เกิดวิกฤติ  “โควิด 19” ที่ทำให้เกิดคำว่า  New Normal ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคน   ไปอีกไม่น้อย  และ  ทุกคนต่างก็ไม่ทราบว่า จะกลับมาเหมือนเดิม อีกเมื่อไรได้แต่ลุ้น  และ  ตั้งหน้าตั้งตาคอยความเหมือนกันของ 2 วิกฤติก็ คือ ทุกคนรู้สึก “ป่วย” จนไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ เพราะสังคมก็เปลื่ยน ชีวิตส่วนตัวก็เปลี่ยนไป แต่ความน่าสนใจก็คือ “ความแตกต่าง”

ระหว่างวิกฤติ   “ต้มยำกุ้ง  และ   “โควิด 19 “  นั้น เป็น  การป่วยไข้ที่แตกต่างกันวิกฤติ    “ต้มยำกุ้ง”    ก็เหมือนการเกิดอุบัติเหตุอย่างหนักที่เกิดขึ้นฉับพลันทันที เหมือน “รถยนต์ถูกชนหนัก” จนหลายคนก็ต้องสูญเสียชีวิต แขนหัก ขาหัก สมองกระเทือนบางคนก็เข้าเฝือกรักษากระดูกไม่นานก็หายบางคนต้องตัดแขนตัดขา แล้วจึงพยายามหาแขนขาเทียมมาใส่แทน แต่ผู้ที่รอดชีวิตมาได้ก็กลับใช้ชีวิตคล้อยเดิมได้ วิกฤติ “โควิด 19” แตกตต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้งเพราะเราไม่ได้เป็นผู้ป่วยจากอุบัติเหตุฉับพลันแต่เราเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่อง “เครื่องใน”  หลากหลายโรค   บางคนอาจจะ  เป็นโรคปอดบางคนเป็นโรคหัวใจ  บางคนเป็นโรคไต  บางคนเป็นโรงสมองเสื่อมบางคนเป็นโรคกระดูกเสื่อม ฯลฯ   และ  บางคนก็เป็นหลายโรค  ประกอบกันชีวิตของคนเป็นวิกฤติ  “ต้มยำกุ้ง”  จะหยุดชะงักชีวิตไปพักหนึ่งหากไม่เสียชีวิตก็จะฟื้นตัวกลับมาได้คล้ายเดิม… แต่วิกฤติ “โควิด 19 ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะชีวิต อาจจะยังเดินอยู่ แต่เดี๋ยวโรคนั้นโรคนี้เข้ามากระทบ ทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยกินยาหลายอย่าง ชีวิตเปลี่ยนไป และไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเสียชีวิต  จากหลายโรค ของเครื่องในวิกฤติการดูแลรักษาตัวเองของวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง 2540” และ “โควิด 19 2563” จึงแตกต่าง  ต้องศึกษาและกำหนด  “จิต”  ให้มั่นและเข้าใจสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นใกล้ตัวเพื่อชีวิตจะได้ผ่านโรคร้ายนี้ไปให้ได้…แม้จะต้องตัดไต ตัดม้าม ตัดปอด ฯลฯ ไปบ้างก็ไม่เป็นไร