BOOK

แนวคิดในการพัฒนากายภาพโรงพยาบาลร่างครั้งที่ -5 (อ่านว่า ลบห้า)

เพราะสังคมที่เปลี่ยนไปทั้งในโลกนี้และในประเทศไทย มีปรากฏการณ์  เด็กเกิดน้อยลง  คนแก่ตายช้าขึ้น และ จำนวนผู้พิการมีมากขึ้นทำให้โรงพยาบาลมี ความสำคัญมากขึ้นทุกวันจนอาจจะกล่าวได้ว่า บ.ว.ร.  ซึ่งหมายความถึง  “บ้าน-วัด-โรงเรียน” กำลังเปลี่ยนเป็น  “บ้าน-วัด-โรงพยาบาล”  ทำให้เราจำเป็นต้องหันมาสนในเรื่องของโรงพยาบาลกันอย่างจริงจังมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย และ บุคลากรของโรงพยาบาล มีความทุกข์น้อยลงมี  ความเสี่ยงน้อยลง  และ มีความสุขมากขึ้นซึ่งใน ประเทศที่เจริญทางด้านการวิจัยพัฒนา จะสร้างมาตรฐานขึ้นมาแนะนำ (เช่น JCI, JCR หรือ Evidence Based เป็นต้น) แต่มาตรฐาน  หลายอย่างที่เป็นของต่างประเทศนั้น   ไม่สามารถนำมาใช้ในประเทศไทยได้ทั้งหมด เพราะความแตกต่าง ทางสังคม ทางภูมิศาสตร์ และ ด้านงบประมาณทำให้คนไทยเราน่าจะต้องเริ่มศึกษา และ วิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานของเราขึ้นมา เอกสารร่างครั้งที่ -5 “แนวคิดในการพัฒนากายภาพโรงพยาบาล”เป็นการเริ่มต้นการบันทึกจากประสบการณ์การวิจัย และ

การระดมสมองของกลุ่ม “สถาปนิกอาสา และวิศวกรใจดี” เพื่อ สรุปหามาตรฐาน  ทางด้านกายภาพ  ของ  โรงพยาบาลในประเทศไทย เพื่อเป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะชนทั่วไปเอกสาร  “ แนวคิดในการพัฒนากายภาพโรงพยาบาล” ฉบับนี้เป็นฉบับร่างที่ -5 (อ่านว่า “ลบ ห้า”) จะต้องมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ อาจจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี จึงจะสำเร็จได้  และ  จะเสนอแก่สาธารณะทั่วไปโดย  จะคงความรับผิดชอบในฐานะ “นักวิชาชีพ” แต่จะเป็น  “เอกสารที่ไม่มี ลิขสิทธิ์” ที่ผู้ใดจะนำไปใช้หรือลอกเลียนอย่างไรก็แล้วแต่จะเห็นสมควรแก่กาล สถานะ และ  สถานที่ขององค์กรนั้น ๆ  หรือ หากมีองค์กรใดที่มีหน้าที่และเป็นกลางทางวิชาการอาจนำไปเป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนา ก็กรุณาอย่าเกรงใจใด ๆ     เพราะ จะทำให้เกิดเสน่ห์  แห่งมาตรฐานที่หลากหลาย (แต่มีเหตุผลและความถูกต้อง) หากท่านผู้มีจิตกุศล มีประสบการณ์  และ มีองค์ความรู้ใดที่จะช่วยพัฒนามาตรฐานทางกายภาพนี้กรุณาส่งคำแนะนำหรือข้อมูลได้ทาง
Email: hospitalhandbook@gmail.com